เมนู

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ
ลุ่มหลง ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสตแล้ว...
สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ
ลุ่มหลง ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะแล้ว...
สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ
ลุ่มหลง ในรสที่รู้ได้ด้วยชิวหาแล้ว ...
สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ
ลุ่มหลง ในโผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกายแล้ว...
สมณพราหมณ์เหล่าใด ไปปราศความกำหนัด ความขัดเคือง ความ
ลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโนแล้ว มีจิตสงบแล้วภายใน ประพฤติสงบ
ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ควรสักการะ เคารพ
นับถือ บูชา นั่นเพราะเหตุไร เพราะว่าแม้พวกเรายังมีความกำหนัด ความ
ขัดเคือง ความลุ่มหลง ในธรรมารมณ์ที่รู้ได้ด้วยมโน ไม่ไปปราศแล้ว ยังมี
จิตไม่สงบภายใน ยังประพฤติลุ่ม ๆ ดอน ๆ ทางกาย ทางวาจา ทางใจอยู่
ก็เมื่อเราทั้งหลายเห็นแม้ความประพฤติสงบของสมณพราหมณ์พวกนั้น ที่ยิ่งขึ้นไป
ดังนี้ ฉะนั้น ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงควรสักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์
แก่ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด.

ว่าด้วยอาการและอันวยปัญหา


[835] ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ถ้าปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ก็อาการและความเป็นไปของท่านผู้มีอายุทั้งหลายเช่นไร
จึงเป็นเหตุให้พวกท่านกล่าวถึงท่านผู้มีอายุทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ
เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะแน่ เป็นผู้

ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว
หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโมหะแน่ ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์
อย่างนี้ว่า ความจริง ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเสพเฉพาะเสนาสนะอันสงัด คือ
ป่าดง เป็นที่ไม่มีรูปอันรู้ได้ด้วยจักษุ ซึ่งคนทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ จะพึงยินดี
เช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีเสียงอันรู้ได้ด้วยโสต ซึ่งคนทั้งหลายพึงแล้ว ๆ จะพึง
ยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีกลิ่นอันรู้ได้ด้วยฆานะ ซึ่งคนทั้งหลายดมแล้ว ๆ
จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีรสอันรู้ได้ด้วยชิวหา ซึ่งคนทั้งหลายลิ้มแล้ว ๆ
จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย เป็นที่ไม่มีโผฏฐัพพะอันรู้ได้ด้วยกาย ซึ่งคนทั้งหลาย
สัมผัสแล้ว ๆ จะพึงยินดีเช่นนั้นเลย นี้แลอาการและความเป็นไปของท่านผู้มี
อายุทั้งหลายของพวกข้าพเจ้า ซึ่งเป็นเหตุให้พวกข้าพเจ้ากล่าวถึงท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลายได้อย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากราคะแล้ว หรือ
ปฏิบัติเพื่อนำปราศราคะแน่ เป็นผู้ปราศจากโทสะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำ
ปราศโทสะแน่ เป็นผู้ปราศจากโมหะแล้ว หรือปฏิบัติเพื่อนำปราศโมหะแน่
ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่
ปริพาชกเจ้าลัทธิอื่นเหล่านั้นอย่างนี้เถิด.
[836] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์คฤหบดี
ชาวบ้านนครวินทะ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า แจ่มแจ้งแล้ว
พระเจ้าข้า แจ่มแจ้งแล้ว พระเจ้าข้า พระโคดมผู้เจริญทรงประกาศธรรมโดย
ปริยายมิใช่น้อย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ หรือเปิดของที่ปิด หรือบอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีตาดีจักเห็นรูป
ทั้งหลายได้ ฉะนั้น พวกข้าพระองค์นี้ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระธรรม
และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำพวกข้าพระองค์
ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จบ นครวินเทยยสูตร ที่ 8

อรรถกถานครวินเทยยสูตร



นครวินเทยยสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้:-
ในสูตรนั้น คำว่า สมวิสมํ จรนฺติ ได้แก่ บางครั้งก็ประพฤติ
เรียบร้อย บางครั้งก็ไม่เรียบร้อย. คำว่า สมจริยํปิ เหตํ ตัดบทเป็น
สมจริยํปิ หิ เอตํ แปลว่า ก็แหละแม้นี้ ก็เป็นความพระพฤติที่เรียบร้อย.
คำว่า อาการเหล่าไหน คือเหตุเหล่าไหน. คำว่า เก อนฺวยา แปลว่า อะไร
ที่พึงตามรู้. ทำไมท่านจึงว่า ก็แหละในป่าดงนั้นไม่มีเลย กามคุณ 5 มีรูป
เป็นต้น ที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ด้วยอำนาจหญ้าเขียว และป่าจำปาเป็นต้นก็มีอยู่ในป่า
มิใช่หรือ. ไม่ใช่ไม่มี. แต่คำนี้ ท่านไม่ได้แสดงด้วยป่าดง. หากแต่ท่านหมาย
เอารูปผู้หญิงเป็นต้น จึงกล่าวคำนี้. ก็รูปของผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น ยึดจิต
ของผู้ชายแล้วตั้งอยู่. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย
เราเองยังไม่มองเห็นรูปอย่างอื่นแม้สักรูปเดียวที่ยึดจิตชายตั้งอยู่อย่างนี้ เหมือน
รูปหญิงนี้เลยนะ ภิกษุทั้งหลาย รูปผู้หญิงยึดจิตชายแล้วตั้งอยู่ พึงขยายให้
พิสดาร. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถานครวินเทยยสูตรที่ 8